ผู้ปฏิบัติงาน
สาขาวิชามีบุคลากรทั้งหมด 25 คน แบ่งเป็น สายวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ (ข้าราชการ) และ สายสนับสนุนวิชาการ ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ
ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายสนับสนุนมีภารกิจที่หลากหลายในการตอบสนองภาระงานขององค์กรได้อย่างครบถ้วน โดยด้านธุรการมีหน้าที่ผลิตเอกสารต่าง ๆ ทั้งเอกสารประกอบการสอนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการบรรยายหรือการวิจัย รวมทั้งเอกสารแบบทดสอบหรือแบบประเมินต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการมีหน้าที่บริหารจัดการ เตรียมและจัดหาสารเคมีและอุปกรณ์เครื่องแก้ว เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนภาคฝึกปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีบุคลากรที่อยู่นอกสาขาวิชาเภสัชเวทและพิษวิทยาที่ให้บริการเกี่ยวกับการจัดสถานที่ที่เป็นสนามสอบ บุคลากรฝ่ายสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้น
ตารางแสดง ลักษณะโดยรวมของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
สายงาน |
อายุตัวเฉลี่ย |
อายุราชการเฉลี่ย |
||||
สายวิชาการ |
44 |
24.32 |
||||
สายสนับสนุน |
42 |
19.63 |
||||
วุฒิการศึกษา |
<ป.ตรี |
ป.ตรี |
ป.โท |
ป.เอก |
กำลังศึกษา ป.เอก |
รวม (คน) |
สายวิชาการ |
- |
- |
3 |
13 |
1 |
17 |
สายสนับสนุน |
3 |
1 |
2 |
- |
- |
6 |
รวม |
3 |
1 |
5 |
13 |
1 |
23 |
ตำแหน่งทางวิชาการ |
อ. |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
|
รวม (คน) |
สายวิชาการ |
3 |
9 |
5 |
- |
|
17 |
ปัจจัยที่จูงใจของผู้ปฏิบัติงานไม่ว่าเป็นสายอาจารย์หรือสายสนับสนุน ได้แก่ความรับผิดชอบเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนการวิจัย บริการวิชาการและทนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นไปตามมาตรฐาน มีคุณภาพ ทุนสนับสนุนการทำวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นหรือหน่วยงานภายนอกเช่น สกว. วช. รางวัลตอบแทนเมื่อผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ ระดับนานาชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น รางวัลบุคลากรต้นแบบ รางวัลนักวิจัยดีเด่น ทุนอุดหนุนคณาจารย์เพื่อให้ไปเผยแพร่ผลงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบที่ประกอบไปด้วยเกณฑ์ประเมินด้าน ปริมาณงาน คุณภาพของงานและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงาน หลักสูตรการเข้าฝึกอบรมสำหรับผู้บริหารและคณาจารย์ การได้สิทธิในการลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและเขียนตำราทุก 7 ปี การเปิดโอกาสให้สาขาวิชาเสนอโครงการของบประมาณเพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาระบบกายภาพ การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ
สายวิชาการ มีภาระกิจหลักคือการจัดให้มีการเรียนการสอน และการวิจัยที่มีคุณภาพและปริมาณที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักคือผลิตเภสัชกรที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา ผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ แบ่งเป็น ระดับปริญญาโท 3 คน ระดับปริญญาเอก 13คน กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก 1 คน รวมเป็น 17 คน โดยมีตำแหน่งทางวิชาการ ระดับอาจารย์ 3 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 9 คน รองศาสตราจารย์ 5 คน รวมทั้งหมด 17 คน อาจารย์ผู้หญิง 8 คน ชาย 10 คน ผู้ชำนาญด้านพิษวิทยา 7 คน ด้านเภสัชเวท 11 คนอายุเฉลี่ย 44 ปีมีคณาจารย์ที่เป็นฝ่ายบริหารคือคณบดี 1 รองคณบดี 1 คนผู้ช่วยคณบดี 2 คน ผู้อำนวยการสำนัก 1 คน ประธานสาขาวิชา 1 คน รองประธานสาขาวิชา 1 คน กรรมการคณะ 1 คน
สายสนับสนุน มีภารกิจหลักคือสนับสนุนงานในด้านต่าง ๆ ของสาขาวิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา
ผู้ปฎิบัติงานฝ่ายสนับสนุน มีข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 คน และลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานธุรการ 1 คน ข้าราชการตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ 2 คน ข้าราชการตำแหน่งพนักงานวิทยาศาสตร์ 1 คน ลูกจ้างประจำตำแหน่งคนสวน 1 คน ทำหน้าที่ด้านห้องปฏิบัติการ รวมเป็นชาย 5 คน หญิง 1 คน อายุ เฉลี่ย 42 ปี
สวัสดิการที่สำคัญ
ด้านวิชาการ:
- ทุนสนับสนุนให้ไปประชุมวิชาการ นำเสนอผลงานวิชาการทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ พร้อมการสนับสนุนทุนจากคณะโดยดำเนินการผ่านทางสาขาวิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา
- ทุนสำหรับการซื้อหนังสือหรือถ่ายเอกสารเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
- ทุนสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยจากฝ่ายวิจัย
- มีระเบียบอนุญาตให้ลาเพื่อภารกิจส่วนตัว เพื่อเขียนตำรา เพื่อฝึกอบรม หรือทำการวิจัย ณ ต่างประเทศ
- มีสถานที่จัดสรรเป็นห้องพักคณาจารย์พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และพื้นที่สำหรับทำงานวิจัยให้อาจารย์ทุกท่าน
ด้านสุขภาพ:
- จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี โดยความร่วมมือกับสถานปฏิบัติการด้านสุขภาพ คณะเทคนิคการแพทย์
- การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันสุขภาพ เช่นหน้ากาก หรือเสื้อปฏิบัติการสำหรับใส่ในห้องปฏิบัติการ
- บุคลากรสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้โดยระบบจ่ายตรง โรงพยาบาลศรีนครินทร์และสถานพยาบาลของรัฐ
ด้านความปลอดภัย:
- มีระบบตรวจสอบการเข้าออกที่ตั้งของสาขาวิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา
- มีระบบกล้องวงจรปิดในตัวอาคาร
- มีระบบ รหัสผ่านเข้าที่จอดรถและห้องพักคณาจารย์
- มีระบบเตรียมรับภาวะฉุกเฉิน เช่น ทางหนีไฟ
- มีระบบ scan ลายนิ้วมือเข้าในตึกที่ทำงานและ scan บัตรสำหรับเข้าจอดรถใต้ตึกและบริเวณหลังตึกใหม่ (ตึก 3)